แผนการจัดการเรียนรู้ที่
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ชื่อวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 5 ( ส31101 )
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง วิธีการทางประวัติศาสตร์กับการศึกษาประวัติศาสตร์ไทย
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 จำนวน 3 ชั่วโมง ผู้สอน
1. มาตรฐานการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน 4.1 เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มีความรู้ความเข้าใจวิธีการสืบค้นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์โดยอาศัยหลักฐานทางประวัติศาสตร์และสามารถจำแนกยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ตามหลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เพื่อสรุปถึงความสำคัญในความต่อเนื่องของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
2. สาระการเรียนรู้
1. ความหมาย ลักษณะ ประเภทและความสำคัญของหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ไทย
2. ความหมาย ความสำคัญ และขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
3. ตัวอย่างการวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย
4. การสร้างองค์ความรู้ใหม่ของประวัติศาสตร์ไทยด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 จุดประสงค์ปลายทาง
สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นเหตุเป็นผลมาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ
3.2 จุดประสงค์นำทาง
1. จำแนกประเภทของหลักฐาน และประเมินคุณค่าของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยได้
2.วิเคราะห์ เปรียบเทียบความแตกต่างของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยได้
3.รู้และเข้าใจความหมาย ความสำคัญ และขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
4.รู้จักวิธีการทางประวัติศาสตร์ ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์
4. เนื้อหาสาระ
วิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นกระบวนการ หรือขั้นตอนที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องราวของมนุษย์ในอดีตให้มีความสมบูรณ์ น่าเชื่อถือ ใกล้เคียงกับความจริง โดยอาศัยจากหลักฐานทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ผ่านการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และประเมินคุณค่าทางหลักฐาน เลือกสรรและจัดหาความสัมพันธ์ของข้อมูลสุดท้ายหรือการเรียบเรียงและนำเสนอ
5. กระบวนการจัดการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. ครูนำนักเรียนสนทนาเพื่อทบทวนความรู้เดิม เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตอบ คำถามที่อาจจะมีผิดบ้างถูกบ้าง
2. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
3. ครูชี้แจงจุดประสงค์การเรียนที่ต้องการให้นักเรียนสามารถอธิบายถึงความหมาย ความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และขั้นตอนทางประวัติศาสตร์ได้
ขั้นสอน
4. อธิบายถึงความหมายของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักเกณฑ์การจำแนกหลักฐานทางประวัติศาสตร์แบบสากล
5. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 5 คน โดยให้นักเรียนศึกษาในเรื่อง
5.1 ลักษณะของหลักฐาน
- หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
- หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
5.2 ประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทย
- หลักฐานชั้นต้น ( หลักฐานปฐมภูมิ )
- หลักฐานชั้นรอง ( หลักฐานทุติยภูมิ )
โดยให้นักเรียนศึกษาจากหนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์มัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยให้นักเรียนทำเป็นแผนผังความคิด โดยทำให้มีความน่าสนใจ กำหนดเวลา 10 นาที
6. ให้ตัวแทนนักเรียนในแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานของกลุ่มตนเอง
7. ครูอธิบายเพิ่มเติมจากที่นักเรียนออกมานำเสนอผลงานของกลุ่มตน
ขั้นสรุป
8. ครูให้ตัวแทนนักเรียนออกมาสรุปเนื้อหาที่เรียน
ชั่วโมงที่ 2
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. ครูนำสนทนาเพื่อทบทวนความรู้เดิมและนำเข้าสู่บทเรียนเกี่ยวกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่นักเรียนเคยเรียนมาแล้ว และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ตอบคำถามที่ผิดบ้างถูกบ้าง
ขั้นสอน
2. ครูอธิบายถึงวิธีการทางประวัติศาสตร์ ความหมาย ความสำคัญ และขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์
3. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มละ 5 คน ศึกษาวิธีการทางประวัติศาสตร์จากหนังสือประวัติศาสตร์มัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยสรุปเป็นแผนผังความคิด
4. ครูให้ตัวแทนนักเรียนออกมานำเสนอแผนผังความคิดของกลุ่มตนเอง
5. ครูสรุปเพิ่มเติมให้กับนักเรียนอีกครั้ง
6. ครูสั่งให้นักเรียนไปเตรียมหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากลุ่มล่ะ 1 ชิ้น
ขั้นสรุป
7. ครูให้ตัวแทนนักเรียนสรุปเนื้อหาที่เรียน
ชั่วโมงที่ 3
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1. ครูให้ตัวแทนนักเรียนออกมาทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปในคาบที่แล้ว
ขั้นสอน
2. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มล่ะ 5 คน ให้นักเรียนศึกษาหลักฐานที่เตรียมมาจากที่ครูสั่งในคาบที่แล้ว โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ครูสอนในคาบที่แล้ว โดยกำหนดเวลา 15 นาที
3. ครูให้นักเรียนออกมานำเสนอผลงานในการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่นักเรียนนำมา
4. ครูช่วยเสนอแนะในการใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาหลักฐานให้นักเรียนอีกครั้ง
ขั้นสรุป
5. ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
6. ครูให้ตัวแทนนักเรียนกล่าวสรุปอีกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น