การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind Mapping สอนอย่างไร ? ดีอย่างไร?วิธีการสอนโดยใช้ Mind Mapping
การนำเข้าสู่การเรียนรู้ ก็คือพยายามเชื่อมโยงความคิดรวบยอด ของการเรียนระหว่าง Mind Map กับ ประสบการณ์ตรงของผู้เรียนเอง จากนั้นเริ่มนำเข้าสู่ประเด็น มีวิธีคือ
1.เลือกเรื่องที่จะทำ
2.หาภาพประกอบ
3.วางแผนรูปแบบ
4.ลงมือเขียนแผนที่
ขั้นตอนในการเขียน
1.เตรียมกระดาษเปล่าและวางกระดาษแนวนอน
2.เขียนคำหรือข้อความเรื่องที่จะทำ Mind Map กลางหน้ากระดาษ
3.คิดถึงหัวเรื่อง (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย ลงบนเส้น
4.แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญย่อยออกไป
5. ตกแต่ง Mind Map ที่เขียน และเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
ข้อดีของการสอนแบบ Mind Mapping
1. ทำให้เห็นภาพรวมกว้าง ๆ ของหัวข้อใหญ่ หรือขอบเขตของเรื่อง
2. ทำให้สามารถวางแผนเส้นทางตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เพราะรู้ว่าตรงไหนกำลังจะไปไหนหรือผ่านอะไรบ้าง
3. สามารถรวบรวมข้อมูลจำนวนมากลงไว้ในกระดาษแผ่นเดียวกัน
4. กระตุ้นให้คิดแก้ไขปัญหา โดยเปิดโอกาสให้มองเห็นวิธีใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์
5. สร้างความเพลิดเพลินในการอ่านและง่ายต่อการจดจำ
ยกตัวอย่างประกอบ วิธีการสอนโดยใช้ เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?
แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้ เครื่องมือหมวก 6 ใบ
1. หมวกสีขาว หมายถึง ข้อมูลที่เป็นกลาง มีลักษณะเป็นปรนัย ถ้าสมาชิกสวมหมวกสีขาวจะ หมายถึง การขอร้องให้สมาชิกคนอื่นเงียบ ถ้าผู้สวมหมวกสีขาวถามผู้ใด ผู้นั้นต้องให้ข้อเท็จจริง ความรู้ หรือข้อมูลแก่สมาชิก
2. หมวกสีแดง สีแดงแทนความรู้สึก อารมณ์ สัญชาตญาณ ความหยั่งรู้ ถ้าสวมหมวกสีแดง คือต้องการให้สมาชิกแสดงความรู้สึกของตนต่อเรื่องราวหรือปัญหานั้น ๆ เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี กลัว ชื่นชม สงสัย
3. หมวกสีดำ เป็นสีมืดครึ้ม จึงแสดงความคิดทางลบ เหตุผลในการปฏิเสธ การคิดแบบหมวกสีดำช่วยป้องกันไม่ให้คิดหรือตัดสินใจอย่างง่าย ๆ การสวมหมวกสีดำคือความต้องการให้บอกข้อบกพร่อง ทำให้สามารถ มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ล่วงหน้า
4. หมวกสีเหลือง สีเหลืองเป็นสีที่สว่างไสว จึงแทนสิ่งที่ถูกต้องหรือ การให้กำลังใจ หมวกสีเหลืองจึง หมายถึงเหตุผลทางบวก การสร้างความมั่นใจ เหตุผลในการยอมรับหรือประโยชน์ การสวมหมวกสีเหลือง คือ ความต้องการข้อมูลด้านบวก จุดเด่น คุณค่า ประโยชน์ต่อส่วนรวม
5. หมวกสีเขียว เปรียบสีเขียวกับธรรมชาติ คือ ความเจริญเติบโต ความคิดใหม่ หมวกสีเขียวคือ การหลีกความคิดเก่า ๆ มุมมองเก่า ๆ ไปสู่ความคิดใหม่ มุมมองใหม่ ๆ เป็นการเปลี่ยนแปลง เป็นการสร้างสรรค์ทุกชนิด ทุกประเภท
6. หมวกสีฟ้า เปรียบสีฟ้าเหมือนท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ อยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่าง หมวกสีฟ้า จึง หมายถึงการควบคุมและจัดระเบียบกระบวนการและขั้นตอนการใช้หมวกสีอื่น ๆ
แนวคิดของ "หมวกความคิด 6 ใบ" สามารถนำมาดัดแปลงใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ทุกระดับ ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ ประถมศึกษาและมัธยมศึกษา อาจใช้สื่อคือหมวก 6 ใบ ที่เป็นรูปธรรม คือ มีหมวกตามสีต่าง ๆ ที่กำหนดเป็นสื่อการสอน แต่ถ้าเป็นการสอนในระดับอุดมศึกษา ไม่จำเป็นต้องใช้หมวกจริง เพียงแต่ทำความเข้าใจแนวคิดและความหมายของหมวกแต่ละ สีว่าเป็นการกำหนดให้นักศึกษาอภิปรายหัวข้อเรื่องหรือประเด็นนั้นในแนวคิดใด ก็เพียงพอแล้ว เพราะเมื่อนักศึกษาได้รับการฝึกฝนให้ใช้ระบบ การคิดแบบคู่ขนานบ่อย ๆ ในที่สุดเขาจะสามารถเชื่อมโยงสี ของหมวกกับแนวคิดที่เขาจะอภิปรายได้อย่างคล่องแคล่ว
เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกัน คือ แตกต่างกันคือกระบวนการจัดการเรียนรู้ของเครื่องมือหมวก 6 ใบต้องการให้เด็กมีการเชื่อมโยงความคิดมีการสมุติเป็นสถานการณ์ตางๆโดยสมมุติว่ากำลังสวมหมวกสีอะไรอยู่แล้วมีความรู้สึกอย่างไร ตามความหมายของสีนั้น ส่วนกระบวนการจัดการเรียนการสอนของโครงงานมุ่งเน้นให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ทางทฤษฎีที่มีความเข้าใจยากกว่าซับซ้อนกว่ากระบวนการคิดจึงแตกต่างกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น